หลักการทำงานระบบปรับอากาศรถยนต์
หลักการทำงานระบบปรับอากาศรถยนต์
การปรับอากาศนั้นก็คือการแลกเปลี่ยนความร้อนนั้นเอง ซึ่งในการแลกเปลี่ยนความร้อนนั้นจะต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ในที่นี้ก็คือ สารทำความเย็น หรือที่เราเรียกว่า น้ำยาแอร์
รูปที่ 1. แสดงระบบปรับอากาศรถยนต์ ( ที่มา http://www.phithan-toyota.com )
จากรูปที่ 1. จะมีการแลกเปลี่ยนความร้อนหลักๆ อยู่ 2 จุดคือ อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) และคอนเดนเซอร์ (Condenser) ในที่นี้จะไม่คิดความร้อนที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในท่อและอุปกรณ์
1.อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) หรือบางครั้งเราเรีกว่า คอล์ยเย็น จะถูกติดตั้งภายในห้องโดยสาร ซึ่งสารความเย็นจะดึงความร้อนเข้า (โดยการที่ใช้โบล์เวอร์เป่าความเย็นออก)
2.คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือบางครั้งเราเรีกว่า คอล์ยร้อน จะถูกติดตั้งภายนอกห้องโดยสารซึ่งสารความเย็นจะถูกดึงความร้อนออก (โดยการที่ใช้พัดลม และอากาศที่วิ่งปะทะในรถที่วางเครื่องด้านหน้าของตัวรถเป่า)
ความดันระบบปรับอากาศรถยนต์จะมีการแบ่งความดันไว้ 2 ประเภทคือ ความดันสูงและความดันต่ำ ไม่คิดความดันที่
สูญเสียในท่อและอุปกรณ์
1.ความดันสูง (Hi Pressure) ในการทำงานปกติจะมีความดัน (R-12 = 200-210 psi, R 134a = 200-230 psi) ซึ่งประกอบด้วยทางออกของคอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receive-Dryer ) และทางเข้าเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve)
2.ความดันต่ำ (Low Pressure) ในการทำงานปกติจะมีความดัน (R-12 = 20-30 psi, R 134a = 20-35 psi) ซึ่งประกอบด้วยทางออกของเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว (Expansion Valve) อีวาโปเรเตอร์ (Evaporator) และทางเข้าคอมเพรสเซอร์ ( Compressor )
รูปที่ 2. แสดงทิศทางการไหลของสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศรถยนต์
จากรูปที่ 2. เราสามารถสรุปความดัน อุณหภูมิ ตลอดจนการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นในระบบปรับอากาศรถยนต์ ได้ตามตารางข้างล่าง
จากตารางอุณหภูมิต่ำสุดคือ จุดที่ 5 ซึ่งก็คือทางออกของ Expansion Valve หรือทางเข้า Evaporator และอุณหภูมิสูงสุดคือ จุดที่ 2 ซึ่งก็คือทางออกของ Compressor หรือทางเข้า Condenser นั้นเอง
BY…BIGBEHM
ระบบท่อ Piping System