การแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน (1)

การแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน (1)


หมวดหมู่:ยานยนต์ Automotive วันที่:2012-07-07

 

การแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน

                การแบ่งประเภทของเครื่องยนต์ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ

1.เครื่องยนต์ลูกสูบขึ้นลง (Piston Engine)

2. เครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)

3. เครื่องยนต์กังหันแก๊ส (Gas Turbine Engine)

                การทำงานของเครื่องยนต์ลูกสูบขึ้นลง (Piston Engine)

      การทำงานของเครื่องยนต์ลูกสูบขึ้นลง (Piston Engine) นั้นมีลักษณะการทำงานเหมือนในหัวข้อที่ผ่านมา คือ การแบ่งประเภทเครื่องยนต์ตามลักษณะการทำงาน http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=66

                การทำงานของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)

 
 

 

รูปที่ 1. แสดงลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์โรตารี่

 

 

การทำงานของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุนนั้นจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน มีวัฏจักรการทำงาน หรือรอบการทำงาน( cycle) เหมือนกับเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine) คือ ดูด อัด ระเบิด(กำลัง) และคาย ในที่นี้เครื่องยนต์เป็นแบบเบนซิน ซึ่งมีการทำงานคือ

         จากรูปที่ 1. (1) ไอดีจะถูกบรรจุเข้าทางช่อง A (จังหวะดูด) เมื่อเพลาข้อเหวี่ยงหมุนจะพาตัวโรเตอร์ (R) หมุนตามไปด้วย (ซึ่งลักษณะการหมุนจะเป็นแบบเยื้องศูนย์) ปิดช่องทาง A (เริ่มจังหวะอัด) ไอดีจะถูกพาไปในช่องดังกล่าวทำให้มีความดันและอุณหภูมิสูง (ดังรูปที่ 1. (2)) หลังจากนั้นจะเกิดประการไฟที่เขี้ยวหัวเทียน (B)(จังหวะระเบิด) (ดังรูรูปที่ 1. (3)) เมื่อโรเตอร์หมุนต่อจะพาไอเสียออกทางช่อง E  (ดังรูปที่ 1. (4))

       บางครั้งอาจมีหัวเทียนในการจุดระเบิด2 หัว ทั้งนี้เพื่อให้ประกายไฟเกิดขึ้นทั่วห้องเผาไหม้ (เพราะการเคลื่อนที่แบบเยื้องศูนย์พื้นที่จะมากหรือน้อยอยู่ที่ตำแหน่งของโรเตอร์) ดังแสดงในรูปที่ 2. เครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine) อาจมีการเรียกชื่ออีอย่างว่า   เครื่องยนต์  แรงเคล  (Wankel  engine  หรือ  Wankel  rotary  engine  ) ตามผู้สร้างคือ ดอกเตอร์  เฟลิค  แรงเคล  ( Felix  Wankel) ชาวเยอรมัน

 

ที่ 2.แสดงหัวเทียนในการจุดระเบิด 2 หัว ของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)

 
 
     จากที่กล่าวข้างต้นเราพอที่สรุปได้คือ
-การทำงานของห้องผาไหม้จะแยกอิสระจากกัน ( 3ห้อง) กล่าวคือ เมื่อห้องหนึ่งๆ จะมีทำงานของใครของมันจนครบรอบการทำงาน (ดูด อัด ระเบิด คาย) แต่ตำแหน่งของอุปรณ์อยู่ตำแหน่งเดียวกัน ช่องทางเข้าไอดี หัวทียน ช่องทางออกไอเสีย
-รอบการทำงานจะมีจังหวะการทำงานคือ จังหวะดูด จังหวะอัด+ระเบิด (อยู่จังหวะเดียวกัน) และจังหวะคาย
-จังหวะการทำงานครบทั้งหมดในเวลาเดียวกัน คือ ช่องที่ 1 อยู่ในจังหวะดูด ช่องที่ 2 อยู่ในจังหวะอัด+ระเบิด ช่องที่ 3 อยู่ในจังหวะคาย ดังนั้นเครื่องยนต์หมุน 1 รอบจะมีงานหรือได้กำลังงานถึง 3 ครั้ง

 

 รูปที่ 3.แสดงชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)

 
 
 
 รูปที่ 4.แสดงชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)
 
 
รูปที่ 5.แสดงชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)
 
 
      Clip การทำงานของเครื่องยนต์ ลูกสูบหมุน (Rotary Engine)

 

 

 ที่มา  http://www.youtube.com/watch?v=6BCgl2uumlI

 

 
การทำงานของเครื่องกังหันแก๊ส (Gas Turbine Engine) ขอกล่าวในครั้งต่อไป

BY..DD.PK.