หัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ( LPG Regulators ) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

หัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ( LPG Regulators ) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


หมวดหมู่:อยากรู้...เสาะหา...เล่าสู่... วันที่:2021-11-14

หัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ( LPG Regulators ) มีส่วนประกอบอะไรบ้าง


             หัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ( LPG Regulators ) นั้นจะต่อเข้ากับวาล์วของถังก๊าซหุงต้ม โดยจะทำหน้าที่ลดความดันของก๊าซที่ออกจากถัง ก่อนเข้าหาเตาเพราะว่าความดันก๊าซในถังนั้นมีค่าที่สูงเกินกว่าจะนำมาใช้งาน

 

 

            ประเภทของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม

         1. ความดันสูง เกิน 500 mm.H2O (อัตราการไหลของก๊าซไม่เกิน 8 กก./ชม.)
- ลักษณะหัวปรับฯสามารถปรับความดันได้
- ใช้งานในอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซหุงต้ม ในปริมาณมาก เช่น ร้านอาหาร เป็นต้น
         2. ความดันต่ำไม่เกิน 500 mm. H2O (อัตราการไหลก๊าซไม่เกิน 4 กก./ชม.)
- หัวปรับก๊าซหุงต้ม จานบิน หรือ แบบเกลียว
- หัวปรับก๊าซหุงต้ม จัมโบ้ หรือ แบบกด
- ใช้งานในครัวเรือน
         ในที่นี่จะกล่าวถึงหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว เท่านั้น ส่วนประภทอื่นๆ ขอกล่าวในครั้งต่อไป

              ส่วนประกอบของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว มีดังนี้

 

 

รูปแสดง ภายนอกหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม


               เสื้อหรือตัวเรือน จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ส่วนด้านบน จะมีฝาครอบ ตัวปรับและสกูรปรับแรงดันสวมอยู่ภายใน ส่วนด้านล่าง จะเป็นส่วนประกอบของท่อทางเข้า-ออก ข้อต่อวาล์วถังแก๊ส โดยมี บ่าวาล์ว วาล์ว กระเดื่องกดวาล์ว สลัก น๊อตล็อค และแผ่นไดอะแฟรม ติดดั้งอยู่ ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะยึดติดกันด้วยสกูร

 

 รูปแสดง ภายในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านบน)

 

รูปแสดง ภายในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านล่าง)

      

รูปแสดง ข้อต่อวาล์วถังแก๊ส



              ข้อต่อวาล์วถังแก๊ส จะเป็นเกลียวซ้าย (หมุนทวนเข็มนาฬิกา ตอนขันเข้ากับวาล์วถังแก๊ส) ซึ่งบางยี่ห้อก็จะบอกทิศทางการหมุนไว้ที่ด้านข้าง โดยข้อต่อนี้จะสวมท่อทางเข้าไว้

 

รูปแสดง ข้อต่อวาล์วถังแก๊ส
 


            ท่อทางเข้า จะทำมาจากทองแดง ทำเป็นเกลียวสวมเข้ากับเสื้อหรือตัวเรือน โดยด้านนอกจะมีซีลสวม ภายในจะมีสปริงและกรองสวมอยู่

      

รูปแสดง ท่อทางเข้า 


            ท่อทางออก จะเป็นชิ้นเดียวกับตัวเสื้อหรือตัวเรือนทำเป็นลักษณะหางปลาไหลสำหรับสวมท่อเพื่อต่อไปยังหัวเตา


รูปแสดง ส่วนประกอบภายในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านล่าง)


           วาล์ว ทำมาจากยางและสวมอยู่ที่กระเดื่องกดวาล์ว
           กระเดื่องกดวาล์ว ปลายด้านหนึ่งจะสวมวาล์ว และอีกด้านจะสวมที่รูของแผ่นไดอะแฟรม สลัก น๊อตล็อค และแผ่นไดอะแฟรม โดยตรงกลางจะมีรูสำหรับสวมสลัก

 
รูปแสดง วาล์วและกระเดื่องกดวาล์ว


            สลัก และ น๊อตล็อค สลักจะสวมกระเดื่องกดวาล์ว บนร่องในเสื้อหรือตัวเรือน โดยมีน๊อตล็อคไว้

 

รูปแสดง สลัก และ น๊อตล็อค

 


รูปแสดง ร่องสลัก เกลียวน๊อตล็อค และบ่าวาล์วในเสื้อหรือตัวเรือน


           แผ่นไดอะแฟรม ทำมาจากยาง โดยด้านล่างจะมีรูไว้สำหรับสวมกระเดื่องกดวาล์ว (รูจะมีการเสริมโลหะ) ด้านบนจะมีแผ่นประครองทีจากโลหะสวมกับเดือยโดยจะมีสปริงปรับแรงดันอยู่

 

        

รูปแสดง แผ่นไดอะแฟรม

 

รูปแสดง แผ่นไดอะแฟรมบนเสื้อหรือตัวเรือน


            สปริงปรับแรงดัน จะอยู่ในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านบน) ซึ่งจะอยู่ระหว่างแผ่นไดอะแฟรมกับตัวปรับแรงดัน โดยสปริงจะทำหน้าที่ดึงแผ่นไดอะแฟรมกลับ

 

รูปแสดง สปริงปรับแรงดันในเสื้อหรือตัวเรือน


            ตัวปรับแรงดัน จะสวมอยู่ในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านบน) ด้วยเกลียว ด้านบนจะมีร่องสำหรับขันปรับแรงดัน และตรงกลางจะมีรูระบาย (ทะลุบน-ล่าง) เพื่อให้อากาศเข้า-ได้ตอนที่มีการยุบและคืนตัวของแผ่นไดอะแฟรม รวมไปถึงการบ่งบอกว่าแผ่นไดอะแฟรมฉีดขาด (แก๊สจะออกตรงรูนี้)

 

     
รูปแสดง ตัวปรับแรงดัน


รูปแสดง ตัวปรับแรงดันบนเสื้อหรือตัวเรือน


           ฝาครอบ จะสวมอยู่ในเสื้อหรือตัวเรือน (ด้านบน) ด้วยเกลียว ตรงกลางจะมีรูระบาย (ทะลุบน-ล่าง) เพื่อให้อากาศเข้า-ได้ตอนที่มีการยุบและคืนตัวของแผ่นไดอะแฟรม รวมไปถึงการบ่งบอกว่าแผ่นไดอะแฟรมฉีดขาด (แก๊สจะออกตรงรูนี้)

 

รูปแสดง ฝาครอบ

รูปแสดง ส่วนประกอบของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว


การทำงานของหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว นั้นจะขอกล่าวในครั้งต่อไป


คลิปเกี่ยวกับหัวปรับความดันก๊าซหุงต้ม ประเภทจานบิน หรือ แบบเกลียว

 


ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=oFGp1TsAmU