เช็ควาล์วเหล็กหล่อ (Ductile Check Valve)
เช็ควาล์วเหล็กหล่อ (Ductile Check Valve)
เช็ควาล์วเหล็กหล่อ (Ductile Check Valve) หรือบางครั้งเรียกว่า (Lift Check Valve) นั้นเป็นการเรียกตามชื่อวัสดุที่ใช้ทำตัวเสื้อของเช็ควาล์ว ซึ่งทำจากโลหะผสมขั้นสูงของเหล็กที่มีส่วนผสมของกราไฟท์บางชนิด มีความเหนียวสูง ทำให้ไม่แตกหักง่ายเมื่องอ สามารถรองรับอุณหภูมิและความดันสูง
เช็ควาล์วเหล็กนี้มีความแข็งแรง ทนทาน และมีความทนทานต่อความร้อนสูง มีความต้านทานการกัดกร่อน และความต้านทานแรงดึงที่ดีเยี่ยม แต่จะมีราคาค่อนข้างแพง
ในที่จะเป็นเช็ควาล์วเหล็กที่มีการต่อกับท่อของระบบด้วยเกลียวซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่ ½ นิ้ว,3/4 นิ้ว, 1นิ้ว, 1 ¼ นิ้ว,1 ½ นิ้ว, 2 นิ้ว โดยเช็ควาล์วเหล็ก จะสามารถรับแรงดันได้ถึง 14 บาร์ และอุณหภูมิได้สูงถึง 120 องศาเซลเซียล สำหรับของไหลที่เป็นน้ำ และในสามารถรับแรงดันได้ถึง 10 บาร์ และอุณหภูมิได้สูงถึง 220 องศาเซลเซียล สำหรับของไหลที่เป็นไอน้ำ,อากาศ,ก๊าซ ,ของไหลประเภทน้ำมัน
ในที่นี่จะยกตัวอย่างขนาด 1 นิ้วโดยมีส่วนประกอบคือ
เสื้อ ทำจากเหล็กที่มีส่วนผสมของกราไฟท์ (FCD-S) โดยปลายทั้งสองด้านจะทำเป็นเหลียมไว้สำหรับการใช้ประแจขัน และภายในจะมีเกลียวไว้สำหรับต่อท่อในระบบ
ด้านบนจะมีเกลียวสำหรับยึดฝาครอบสวมวาล์วไว้ภายใน และภายในจะมีบ่าวาล์วสวมติดอยู่ บนตัวเสื้อหรือตัวเรือน จะมีเครื่องหมายบอกทิศทางการไหลของระบบ (ป้องกันการต่อผิด) โดยหัวลูกศรจะเป็นทิศาทางออก นอกจากนั้นยังมีตัวเลขบอกว่าให้ใช้กับท่อขนาดไหน (ซึ่งจะบอกเป็นหน่วยนิ้ว)
บ่าวาล์ว ทำมาจากสแตนเลต (SUS 403) มีลักษณะทรงกระบอก จะถูกสวมอัดติดไว้ในเสื้อโดยที่บริเวณด้านบนจะสัมผัสกับหน้าวาล์ว (ตอนวาล์วปิด)
วาล์ว ทำมาจากสแตนเลต (SUS 403) จะถูกหล่อเป็นชิ้นเดียวกับก้านวาล์วและก้านวาล์วนี้จะสวมเข้าที่ร่องของฝาครอบ เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่ง (วาล์วจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในร่องฝาครอบ ตามการปิด-เปิด) โดยที่บริเวณหน้าวาล์ว (ด้านล่าง) จะสัมผัสกับบ่าวาล์ว (ตอนปิด)
ฝาครอบ ทำมาจากสแตนเลต (SUS 403)จะมีเกลียวสำหรับสวมกับเสื้อวาล์ว และด้านในจะทำเป็นร่องสำหรับสวมก้านวาล์ว
การทำงาน เมื่อมีของไหลๆเข้าทางด้านเข้าของตัววาล์ว แรงดันของไหลจะดันตัววาล์วให้เคลื่อนที่ขึ้น (วาล์วจะเคลื่อนที่ขึ้นในร่องฝาครอบ) ของไหลจะไหลออกจากตัววาล์วที่ทางออก เมื่อไม่มีของไหลๆเข้าตัววาล์ว วาล์วจะเคลื่อที่ลงด้วยน้ำหนักของตัวมันและแรงดันทางด้านออกจะกดให้หน้าวาล์วสัมผัสกับบ่าวาล์ว เป็นผลให้ของไหลนั้นไม่สามารถไหลออกไปยังด้านทางออกของตัววาล์วได้
รูปแสดงการเปิด-ปิด ของวาล์ว
รูปแสดงการเปิด-ปิด ของวาล์ว
รูปแสดงการเปิด-ปิด ของวาล์ว
คลิบเกี่่ยวกับเช็ควาล์วเหล็กหล่อ
larger;">ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=vz3AzsssKFc
ระบบดับเพลิง