การย่อยวัสดุมีอะไรบ้าง
การย่อยวัสดุมีอะไรบ้าง
การย่อยหรือการลดขนาด เป็นกระบวนการที่ทำให้ขนาดของวัสดุเล็กลงเพื่อให้ง่ายต่อกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่อ ๆ ไป เช่น ปูนขาว เราจะเห็นเป็นลักษณะผง แต่ก่อนที่จะมาเป็นลักษณะอย่างที่เราเห็นต้องมีการนำหินปูนจากเหมืองมาผ่านการย่อยเพื่อเข้ากระบวนการผลิตต่างๆรวมทั้งการบดละเอียด แล้วออกมาอย่างที่เราเห็น
การลดขนาดของแข็งอาจถูกทำให้มีขนาดเล็กลงโดยกระบวนการต่อไปนี้
1.การโม่หรือขัด (Attrition or Rubbing)
เป็นการลดขนาดของวัสดุขนาดเล็ก ที่มีการแตกจากผิวของวัสดุไม่ว่าจากวัสดุกับวัสดุหรือวัสดุกับเครื่องจักร ซึ่งกระบวนการนี้สามารถย่อยหรือลดขนาดวัสดุให้เล็กได้ถึงขนาด 1 – 50 ไมครอน ตัวอย่างเครื่องจักร เช่น เครื่องบดแบบลูกกลิ้ง (Roller Mill)
รูปแสดง เครื่องบดแบบลูกกลิ้ง (Roller Mill)
2. การทุบหรือกระแทก (Impact)
เป็นการลดขนาดของวัสดุขนาดใหญ่ ที่มีการแตกจากเนื้อของวัสดุไม่ว่าจากวัสดุกับวัสดุหรือวัสดุกับเครื่องจักร เหมาะสำหรับวัสดุเปราะ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถย่อยหรือลดขนาดวัสดุให้เล็กได้ถึงขนาด 50 – 8,000 ไมครอน ตัวอย่างเครื่องจักร เช่น Jaw Crusher ซึ่งสามารถย่อยวัสดุขนาด 1,800 มม.ให้ลดลงเหลือขนาด 250 มม.
รูปแสดง Jaw Crusher
3. การอัดหรือบีบ (Compression)
เป็นการลดขนาดของวัสดุขนาดปานกลางถึงใหญ่ ที่มีการแตกจากเนื้อของวัสดุไม่ว่าจากวัสดุกับวัสดุหรือวัสดุกับเครื่องจักร ซึ่งกระบวนการนี้สามารถย่อยหรือลดขนาดวัสดุให้เล็กได้ถึงขนาด 50 – 10,000 ไมครอน ตัวอย่างเครื่องจักร เช่น Double Roll
รูปแสดง Double Roll
4. การเฉือนหรือการตัด (Shear or Cutting)
เป็นการลดขนาดของวัสดุขนาดปานกลางถึงใหญ่ ที่มีการแตกจากผิวเข้าสู่เนื้อของวัสดุไม่ว่าจากวัสดุกับวัสดุหรือวัสดุกับเครื่องจักร เหมาะสำหรับวัสดุที่มีผิวแข็ง ซึ่งกระบวนการนี้สามารถย่อยหรือลดขนาดวัสดุให้เล็กได้ถึงขนาด 100 – 80,000 ไมครอน ตัวอย่างเครื่องจักร เช่น Hammer Mill
รูปแสดง Hammer Mill
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่แล้ววัสดุที่ถูกลดขนาดนั้นจะผ่านเครื่องจักรตัวเดียวกันแต่ลักษณะการลดลงของขนาดนั้นจะเกิดขึ้น 2-3 วิธี เช่น การบดปูนขาวด้วย Hammer Mill ก้อนหินปูนจะถูกการเฉือนหรือการตัด แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดการเสียดสีของหินปูนในตัว Hammer Mill ซึ่งเป็นการโม่หรือขัด ไปพร้อมกัน เป็นต้น
ระบบดับเพลิง