เรกกูเลเ ตอร์ลม (Oxygen Regulator)
เรกกูเลเ ตอร์ลม (Oxygen Regulator)
รูปแสดง ส่วนประกอบภายนอกของเรกกูเลเตอร์ลม
ในที่นี้กล่าวถึงเรกกูเลเตอร์ออกซิเจขน (และใช้ศัพฑ์ตามภาษช่างเลยคือจะเรียกออกำซเจนเป็นลม) ที่ใช้ในงานช่างที่มีการตัด การเชื่อมเท่านั้น ซึ่งในการตัด การเชื่อม นั้นต้องใช้ความดันสูงกว่าความดันของลมทั่วไป จากรูปข้างบนคือส่วนประกอบภายนอกของเรกกูเลเตอร์ลมโดยที่
ส่วนประกอบของเรกกูเรเตอร์ลม ประกอบไปด้วย
1.ตัวเรือนหรือเสื้อเรกกูเรเตอร์ลม เป็นที่รวมหรือตั้งส่วนประกอบอื่นๆ
2.ท่อต่อถังลม ด้านหนึ่งจะต่อกับเสื้อเรกกูเรเตอร์ลม และอีกด้านหนึ่งจะต่อกับถังแก๊ส โดยมีน๊อตเป็นตัวขันต่อกับถังลม และที่ท่อทางเข้าจะมีตัวกรองสิ่งสกปรกอยู่
3.เกจวัดความดันในถังลม ภายในตัวเรือนของเร็กกูเลเตอร์จะมีช่องเชื่อมต่อกับท่อที่มาจากถังลม (ค่าความดันจะมากกว่าเกจที่ใช้งาน)
รูปแสดง ช่องเชื่อมต่อกับท่อที่มาจากถังลม
4..เกจวัดความดันใช้งาน จะเป็นตัวบ่งบอกความดันที่ใช้งาน (โดยจะอาศัยความดันมาจากวาล์วปรับแรงดัน )ซึ่งจะมีช่องเชื่อมต่อกับท่อทางออก (แยกจากห้องที่มาจากถัง)
5.ท่อใช้งาน จะต่อกับสายและไปต่อกับหัวตัดแก๊สต่อไป
รูปแสดง ส่วนประกอบภายในของเรกกูเลเตอร์ลม
6.ชุดวาล์วปรับแรงดัน จะทำหน้าที่ปรับแรงดันตามที่เราต้องการ (หมุนทวนเข็มคือเพิ่มแรงดัน)โดยในชุดนี้จะประกอบไปด้วย
รูปแสดง ชุดวาล์วปรับแรงดัน
-ฝาครอบ ในตัวฝาครอบนั้นจะทำเป็นเกลียวสามารถแยกออกจากตัวเรือน และยังเป็นที่อยู่ของด้ามปรับแรงดันและแกนวาล์วปรับแรงดัน
-ด้ามปรับแรงดัน จะเป็นตัวหมุนบังคับแกนวาล์วปรับแรงดัน
-แกนวาล์วปรับแรงดันจะเป็นตัวส่งต่อกำลังจากด้ามปรับแรงดับส่งต่อไปยังแหวนรองสปริง
-แหวนรองสปริง ด้านหนึ่งจะนูนเพื่อสัมผัสกับร่องสปริงและอีกด้านจะเว้าเพื่อรับแรงจากแกนวาล์วปรับแรงดัน
-สปริง เป็นตัวกำหนดว่าแรงดันที่จะออกไปใช้งานงานว่ามีค่าเท่าไรโดยอาศัยการปรับมาจากด้ามปรับแรงดัน
-แหวนรองแผ่นไดอะแฟรม จะทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงของแผ่นไดอะแฟรมและเป็นตัวส่งต่อแรงไปยังก้านส่งในชุดต้อนแรงดันจากถังลม
-แผ่นไดอะแฟรม จะทำหน้าที่ป้องกันการรั่วของแก๊สจากห้องที่ส่งไปใช้งานกับห้องบังคับแรงดัน(ชุดวาล์วปรับแรงดัน)
7.ชุดต้านแรงดัน ในชุดนี้จะอยู่ในห้องที่เชื่อมต่อกันจากท่อต่อถังแก๊สและเกจวัดความดันในถังแก๊ส โดยในชุดนี้จะประกอบไปด้วย
รูปแสดง ชุดต้านแรงดัน
รูปแสดง ภายในชุดต้านแรงดัน
-น๊อตล๊อตจะทำหน้าที่เป็นช่องทางของก้านส่งและล๊อคส่วนประอบอื่นๆที่อยู่ในชุดต้านแรงดันรวมทั้งเป็นบ่าวาล์ว
รูปแสดง บ่าวาล์วในตัวน๊อตล๊อค
-ก้านส่ง จะสอดอยู่ในตัวน๊อตล๊อค ด้านบนจะสัมผัสกับแหวนรองแผ่นไดอะแฟรมของชุดปรับแรงดัน
และด้านล่างสวมอยู่กับวาล์ว
-วาล์ว จะเป็นตัวเปิดให้จ่ายมากหรือน้อยโดยรับรอบแรงจากก้านส่ง(กรณีจ่ายมาก) และจ่ายน้อยหรือสปริง (รับแรงจากสปริง)
รูปแสดง ช่องทางออกของลมจากห้องต้านแรงดัน
-ปะเก็น ป้องกันการรั่วในห้องต้านแรงดัน
รูปแสดง ส่วนประกอบของเรกกูเลเ ตอร์ลม (Oxygen Regulator)
สำหรับหลักการทำงานจะขอกล่าวในครั้งต่อไป
ระบบท่อ Piping System