
ซีลน้ำมันแบบ TC (TC Oil Seal)
ซีลน้ำมันแบบ TC (TC Oil Seal)
รูปแสดง ส่วนประกอบของซีลน้ำมันแบบ TC
ซีลน้ำมัน (Oil Seal) จะสวมอยู่บนเพลาและเสื้อของเครื่องจักร ซึ่งซีลน้ำมันมีอยู่หลาย แบบ และหลายประเภทขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่จะทำหน้าที่เหมือนกันคือป้องกันการรั่วของน้ำมัน ในที่นี้จะยกตัวอย่าง ซีลน้ำมันชนิด TC
ซีลน้ำมันชนิด TC จะมีส่วนประกอบหลักคือ (ส่วนประกอบของแต่ส่วนโดยละเอียดนั้นจะขอกล่าวในครั้งต่อไป)
1. โครงซีล ทำมาจากเหล็กรีดเย็น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ตัวซีล
2. ยางขอบซีล ทำมาจากยางหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานเฉพาะทาง เช่น ยางประเภท NBR ,EPDM,Silicone เป็นต้น โดยยางขอบซีลนี้จะหุ้มอยู่บนตัวโครงซีล ตัวขอบด้านนอกจะสวมกับเสื้อของเครื่องจักรและด้านในจะสวมอยู่บนเพลา
รูปแสดง ส่วนประกอบของซีลน้ำมันแบบ TC
รูปแสดง ส่วนประกอบของซีลน้ำมันแบบ TC
3.สปริง จะสวออยู่ขอบด้านในของยางขอบซีลทำหน้าที่เพิ่มแรงกดของยางขอบซีลกับเพลาเพิ่มป้องกันการรั่วของน้ำมันหรือสารหล่อลื่น
รูปแสดง ส่วนประกอบของซีลน้ำมันแบบ TC
รูปแสดง ส่วนประกอบของซีลน้ำมันแบบ TC
รูปแสดง สปริงของซีลน้ำมันแบบ TC
ความหมายต่างๆบนยางขอบซีล
รูปแสดง ซีลน้ำมัน
จากรูป
T = ผิวสัมผัสแกนเพลาจะมี 2 ด้าน โดยที่ด้านในจะป้องกันการรั่วของน้ำมันหรือสารหล่อลื่นที่จะออกจากเครื่องจักร ด้านนอกจะป้องกันฝุ่นที่จะเข้าไปยังเครื่องจักร
C = ซีลจะมีโครงซีลที่เป็นเหล็กแล้วมียางขอบซีลหุ้มทั้งหมด
140 = ความโตด้านในของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 140 มิลลิเมตร)
170 = ความโตด้านนอกของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 170 มิลลิเมตร)
15 = ความหนาของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 15 มิลลิเมตร)
รูปแสดง ผิวสัมผัสแกนเพลา
รูปแสดง ผิวสัมผัสแกนเพลา
รูปแสดง ซีลน้ำมัน
จากรูป
T = ผิวสัมผัสแกนเพลาจะมี 2 ด้าน โดยที่ด้านในจะป้องกันการรั่วของน้ำมันหรือสารหล่อลื่นที่จะออกจากเครื่องจักร ด้านนอกจะป้องกันฝุ่นที่จะเข้าไปยังเครื่องจักร
C = ซีลจะมีโครงซีลที่เป็นเหล็กแล้วมียางขอบซีลหุ้มทั้งหมด
200 = ความโตด้านในของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 200 มิลลิเมตร)
230 = ความโตด้านนอกของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 230 มิลลิเมตร)
15 = ความหนาของตัวซีลมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร (ในที่นี้คือ 15 มิลลิเมตร)
ระบบดับเพลิง