ผ่าดูภายในของรีเลย์แบบ 5  ขา (ปกติปิด)

ผ่าดูภายในของรีเลย์แบบ 5 ขา (ปกติปิด)


หมวดหมู่:ยานยนต์ Automotive วันที่:2018-08-16

 รีเลย์แบบ 5  ขา (ปกติปิด)

รูปแสดงรีเลย์แบบ 5  ขา (ปกติปิด)
 
        รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ ตัดต่อกระแสไฟและช่วยป้องกันอุปกรณ์ตัวอื่นๆไม่ให้เกิดความเสียหาย เมื่อระบบหรือวงจรมีอาการผิดปกติ โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งตัวรีเลย์จะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 2 ส่วน คือ
 
     1.ขดลวด (Coil) จะทำหน้าที่ เป็นตัวเหนี่ยวนำหรือสร้างสนามแม่เหล็กไปกระทุ้งหรือดูดหน้าสัมผัสให้ต่อกันและแยกออกจากกัน
 
     2.หน้าสัมผัส (Contact) จะทำหน้าที่ ตัดต่อกระแสไฟ โดยอาอาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งหน้าสัมผัสจะมี 2 ส่วนคือ ตัวเคลื่อนที่ (จะมีกระแสไฟมารออยู่) และตัวอยู่กับที่แบบ 5 ขานี้จะมีอยู่ 2 ตัว 

 

           2.1 ตัวบนจะรับกระแสไฟจากตัวเคลื่อนที่และจ่ายกระแสไฟออกไป โดยที่ยังไม่มีการเหนี่ยวนำของขดลวด แสดงตามรูปด้านล่าง
 
 
รูปแสดง ลักษณะการต่อของหน้าสัมผัสตอนที่ยังไม่มีการเหนี่ยวนำของขดลวด
 
             2.2 ตัวล่างจะรับกระแสไฟจากตัวเคลื่อนที่และจ่ายกระแสไฟออกไป โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของขดลวด
 
 
รูปแสดง ลักษณะการต่อของหน้าสัมผัสตอนที่มีการเหนี่ยวนำของขดลวด
 
          กล่าวอีกอย่างจะมีกระแสไฟผ่านตัวรีเลย์ตลอดเวลา คือ 
- เมื่อยังไม่มีการเหนี่ยวนำของขดลวด กระแสไฟจะผ่านหน้าสัมผัสตัวเคลื่อนที่ไปยังหน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ตัวบน
-เมื่อยังมีการเหนี่ยวนำของขดลวด กระแสไฟจะผ่านหน้าสัมผัสตัวเคลื่อนที่ไปยังหน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ตัวล่างแทน ทำให้หน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ตัวบนถูกตัด
-การทำงานจะสลับกันไปมาแบบนี้ ขึ้นอยู่กับการจ่ายกระแสไฟเข้าที่ขดลวด

รูปแสดง ขั้วหรือขาของรีเลย์
 
    รีเลย์แบบ 5 ขา หรือ 5 ขั้วจะประกอบไปด้วยขั้วหรือขาดังนี้
 
1.ขั้วหรือขา ของขดลวดด้านไฟเข้า ส่วนมากจะใช้เลข 85
2.ขั้วหรือขา ของขดลวดด้านไฟออก ส่วนมากจะใช้เลข 86
3.ขั้วหรือขา ของหน้าสัมผัสตัวเคลื่อนที่ ส่วนมากจะใช้เลข 30
4.ขั้วหรือขา ของหน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ (ตัวบน) ส่วนมากจะใช้เลข 87a
5. ขั้วหรือขา ของหน้าสัมผัสตัวอยู่กับที่ (ตัวล่าง) ส่วนมากจะใช้เลข 87

 

รูปแสดง สัญลักษณ์ของรีเลย์แบบ 5 ขา