เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์
เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ เป็นเครื่องมือในงานวัดละเอียดชนิดหนึ่ง ที่สามารถวัดขนาดของชิ้นงานได้ 3 ลักษณะ ด้วยกัน คือ ความโตด้านนอก ความโตด้านใน และความลึก ของชิ้นงาน
รูปแสดงลักษณะการวัดความโตด้านนอก
รูปแสดงลักษณะการวัดความโตด้านใน
รูปแสดงลักษณะการวัดความลึก
เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ ค่าตัวเลขที่อ่านได้นั้นมีทั้งดิจิตอล (วัดแล้วอ่านค่าได้เลย) และแบบอะนาล๊อค (ค่าที่อ่านผู้ใช้ต้องรู้ว่าอ่านอย่างไร) ในที่นี้จะเป็นแบบอะนาล๊อค โดยทั่วไปหน่วยที่อ่านได้จากเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์นั้นจะมีอยู่ 2 หน่วยหลักๆด้วยกัน คือ หน่วยนิ้วและหน่วยมิลลิเมตร และทั้งสองหน่วยนั้นยังมีความละเอียดหรือค่าที่อ่านได้นั้นแยกออกไปอีกตามการออกแบบของเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ตัวนั้น
ความละเอียดในหน่วยนิ้วนั้นส่วนมากจะอ่านได้ที่ 1/128 นิ้ว และ 1/1000 นิ้ว (ในรูปความละเอียดคือ 1/128 นิ้ว)
ความละเอียดในหน่วยมิลลิเมตรนั้นส่วนมากจะอ่านได้ที่ 0.02 มิลลิเมตร และ 0.05 มิลลิเมตร(ในรูปความละเอียดคือ 0.05 มิลลิเมตร)
รูปแสดง ค่าตัวเลขบนเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์
ส่วนประกอบของเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์
1.สเกลหลัก บนสเกลหลักจะมีตัวเลขอยู่ โดยตัวเลขนี้จะเป็นตัวบอกขนาดของชิ้นงานซึ่งการอ่านจะอ่านพร้อมกับสเกลเลื่อน (รายละเอียดจะกล่าวถึงในหัวของการอ่านค่า) นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของปากวัดนอกและปากวัดใน (ตัวอยู่กับที่) และเป็นที่ติดตั้งของสเกลเลื่อนและก้านวัดลึก
รูปแสดง ส่วนประกอบของเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์
2.สเกลเลื่อน จะถูกติดตั้งบนสเกลหลักและบนสเกลเลื่อนจะมีตัวเลขอยู่ โดยตัวเลขนี้จะเป็นตัวบอกขนาดของชิ้นงานซึ่งการอ่านจะอ่านพร้อมกับสเกลหลัก (รายละเอียดจะกล่าวถึงในหัวของการอ่านค่า) นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของปากวัดนอกและปากวัดใน (ตัวอยู่ที่เคลื่อนที่) และก้านวัดลึก
3.ปุ่มล๊อค จะติดอยู่บนสเกลเลื่อน มีหน้าที่คือ ล๊อคไม่ให้สเกลเลื่อนเคลื่อนที่ (เมื่อเราวัดได้แล้วไม่สามารถอ่านค่าได้ทันทีแล้วมีการเอาเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์มาอ่านนอกชิ้นงาน สเกลเลื่อนอาจเลื่อนเข้าหรือออกได้ ทำให้ค่าที่อ่านได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง)
4.ปากวัดนอก จะมีหน้าที่ วัดความโตของชิ้นงานด้านนอก (จะอยู่ด้านล่างของตัวเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์) โดยด้านหนึ่งอยู่กับที่ (เป็นส่วนหนึ่งของสเกลหลัก) และอีกด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ (เป็นส่วนหนึ่งของสเกลเลื่อนและเคลื่อนที่ไปกับสเกลเลื่อน)
5.ปากวัดใน จะมีหน้าที่ วัดความโตของชิ้นงานด้านใน (จะอยู่ด้านบนของตัวเวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์) โดยด้านหนึ่งอยู่กับที่ (เป็นส่วนหนึ่งของสเกลหลัก) และอีกด้านหนึ่งจะเคลื่อนที่ (เป็นส่วนหนึ่งของสเกลเลื่อนและเคลื่อนที่ไปกับสเกลเลื่อน)
6.ก้านวัดลึก จะมีหน้าที่ วัดความลึกของชิ้นงาน โดยจะยึดติดกับสเกลเลื่อนและเคลื่อนที่ไปกับสเกลเลื่อน
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=yci2kdYNrkg
ระบบท่อ Piping System