ไฟไซเรน
เราต้องเจอและเคยเห็นไฟไซเรนกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะติรถพยาบาล รถมูลนิธิต่างๆ ด่านหรือจุดตรวจของทหาร ตำรวจ แล้วมันมีส่วนประกอบและการทำงานแบบไหน (ในที่นี้จะกล่าวถึงไฟไซเรนที่ทำงานแบบหมุน)
รูปแสดงไฟไซเรนแบบหมุน
ส่วนประกอบภายนอกของไฟไซเรนแบบหมุน
-โคมไฟ ส่วนมากตัวโคมจะเป็นสีเหลือง แดง หรือส้ม เพื่อสำหรับตัดกับแสงของหลอดไฟด้านในทำให้เรามองเห็นได้ชัด
-ฐานไซเรน จะเป็นที่ยึดส่วนประกอบอื่นๆของไซเรน
-สายไฟ เป็นตัวต่อระหว่างสวิชท์กับชุดหลอไฟและมอเตอร์ด้านในขอตัวไซเรน
รูปแสดงโคมไฟ
รูปแสดงส่วนประกอบภายนอกของไฟไซเรนแบบหมุน
ส่วนประกอบภายในของไฟไซเรนแบบหมุน
-แผ่นสะท้อนแสง จะมีรูร่างคล้ายจาน คลอบด้านของของหลอดไฟและฐานต้านล่างจะยึดติดกับเฟือง (ด้านหนึ่งจะปังแสงที่มาจากหลอดไฟ) ในเวลาทำงานชุดแผ่นสะท้อนแสง
รูปแสดงแผ่นสะท้อนแสง
-ชุดหลอดไฟ จะประกอบไปด้วยขั้วและหัวไฟ ซึ่งจะให้แสงสว่างออกมา (หลอดที่ใช้งานคือหลอดตรงกลาง สำหรับอีกหลอดคือหลอดสำรอง)
รูปแสดงชุดหลอดไฟ
-ชุดเฟือง จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตัวด้วยกัน คือ ตัวที่ 1 จะยึดติดกับแผ่นสะท้อนแสงทำหน้าที่ให้แผ่นสะท้อนแสงหมุน ตัวที่ 2 จะยึดติดกับฐานทำหน้าที่ส่งถ่ายการหมุนจากเฟืองของมอเตอร์ไปยังเฟืองตัวที่ 1 ตัวที่ 3 จะยึดติดมอเตอร์ทำหน้าที่ส่งถ่ายการหมุนจากมอเตอร์ไปยังเฟืองสะพาน
รูปแสดงชุดเฟือง
-มอเตอร์ จะยึดติดกับฐานทำหน้าที่ให้แผ่นสะท้อนแสงหมุน โดยผ่านชุดเฟือง
รูปแสดงมอเตอร์
การทำงาน เมื่อเราเปิดสวิทช์ไฟไซเรน กระแสก็จะมาที่ตัวไซเรน โดยจะแบ่งเป็นสองทาง ทางแรกไปยังชุดหลอดไฟ ทำให้หลอดไฟติด และอีกทางไปยังตัวมอเตอร์ เมื่อมอเตอร์หมุนจะส่งการหมุนผ่านชุดเฟืองไปยังแผ่นสะท้อนแสง แผ่นสะท้อนแสงก็ หมุนทำให้เราเห็นแสงที่ออกมาจากไซเรนและในบางจังหวะจะไม่เห็นแสงก็คือจังหวังนั้นจะตรงกับแผ่นสะท้านแสงในตำแหน่งที่บังหลอดไฟ
คลิปแสดงการทำงานของไฟไซเรนแบบหมุน
คลิปแสดงการหมุนของไฟไซเรนแบบหมุน
BY...BABYBOY
ระบบท่อ Piping System