รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receiver Dryer )

รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receiver Dryer )


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2013-08-17

 รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receiver Dryer )

 

         รีซีฟเวอร์ไดเออร์ ( Receiver Dryer )หรือท่อพักสารความแย็น บางครั้งอาจเรียกว่า  “ไดเออร์”  จะติดตั้งอยู่ระหว่าง คอนเดนเซอร์ กับเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว
 
 
รูปแสดงตำแหน่งคอนเดนเซอร์ (ที่มา http://www.royalairgas.com )
 
          โดยในรถยนต์นั่งทั่วๆไปจะติดตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ารถ (ห้องเครื่อง) เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา ตลอดจนการตรวจเช็ค
 
 
รูปแสดง ตำแหน่งรีซีฟเวอร์ไดเออร์ ในรถยนต์ ( ที่มา http://www.royalairgas.com )
 
 

ส่วนประกอบและหน้าที่ต่างๆของ รีซีฟเวอร์ไดเออร์
 
 
 
รูปแสดง ส่วนประกอบต่างๆของ รีซีฟเวอร์ไดเออร์
 
จากรูป รีซีฟเวอร์ไดเออร์มีส่วนประกอบและหน้าที่ต่างๆ ดังนี้
 
     1.ตัวเรือน ทำจากโลหะ รูปทรงกระบอก โดยที่ด้านข้างจะมีสติกเกอร์ติดเพื่อบ่งบอก ทิศทางการไหลของสารความเย็น
     2.ท่อทางเข้า จะต่อมาจากคอนเดนเซอร์ ซึ่งบริเวณด้านบนจะมีอักษร “IN” เพื่อบ่งบอกว่าเป็นท่อทางเข้า
     3.แผ่นกรอง (Filter) จะกรองสิ่งสกปรกที่ติดมากับสารควมเย็น เช่น เศษชิ้นส่วนที่สึกหรอของคอมเพรสเซอร์ 
     4.สารดูดความชื้น (Desiccant) จะบรรจุอยู่ในถุงอีกชั้นหนึ่งโดยอยู่ในสถานะของแข็ง ทั่วๆไปทำมาจาก ซิลิกาเจล (Silica  gel) หรือโมบิลเจล (Mobil gel) ทำหน้าที่ดูดความชื้นที่ติดมากับสารความเย็น
     5.ตะแกรงกรอง (Strainer) ทำจากลวดเส้นเล็กๆสานกันเป็นตะแกรง ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรก คล้ายกับแผ่นกรอง โดยครอบท่อส่งสารความเย็นไว้
     6.ท่อส่งสารความเย็น (Pickup tube) หรือบางครั้งเรีกว่า “ ท่อรีซีฟเวอร์ (Receiver tube) ” ทำหน้าที่ส่งสารความเย็นภายในตัวเรือนออกไปยังท่อทางออก โดยที่ปลายที่จะอยู่ด้านล่างของตัวเรือน
     7.กระจกมองสารความเย็น (Sight galss) ทำมาจากกระจกอยู่บริเวณด้านบนของตัวเรือน เชื่อมต่อกับท่อส่งสารความเย็น ซึ่งเป็นจุดเดียวในระบบปรับอากาศรถยนต์ที่จะมองเห็นสารความเย็นในระบ เวลาที่ระบบทำงาน (การมองเห็นสารความเย็นจะเป็นตัวบ่งบอกว่า ในระบบมีสารความเย็นมากน้อย หรือไม่มีเลย)
     8.ปลั๊กหลอมละลาย บางครั้งเรียกว่า “ โบลต์ละลาย ” ตัวโบลต์จะมีรูทะลุจากปลายถึงหัว โดยภายในจะมีตะกั่วพิเศษปิดรูไว้อยู่ ซึ่งปลั๊กหลอมละลายจะทำหน้าที่ปล่อยสารความเย็นออกจากระบบ (ตะกั่วจะละลาย) ในกรณีที่ความดันและอุณหภูมิด้านสูงมากเกินไป ( ความดันสูงถึง 30 bar ,427 psi อุณหภูมิ ที่ 95 -100 oC, 203-212 oF)
     9.ท่อทางออก จะไปยังกับเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว
 
 
รูปแสดงรีซีฟเวอร์ไดเออร์ (ที่มา  http://sangamotor.tarad.com )
 
 
 
รูปแสดงรีซีฟเวอร์ไดเออร์ (ที่มา  https://www.facebook.com/Pakornaircar )
 
 
การทำงานของ รีซีฟเวอร์ไดเออร์
 
 
รูปแสดง ส่วนประกอบต่างๆของ รีซีฟเวอร์ไดเออร์
 
จากรูปสารความเย็นจากคอนเดนเซอร์เข้าที่ท่อทางเข้า ในสถานะของผสม ส่วนที่เป็นก๊าซจะลอยอยู่ด้านบน(ฟุ้งเต็มภายในตัวเรือน) และส่วนที่เป็นของเหลวจะตกลงสู่ด้านล่างของตัวเรือน โดยก่อนจะถึงด้านล่างสารความเย็นจะผ่าน
แผ่นกรอง (กรองสิ่งสกปรก) ผ่านสารดูดความชื้น ความชื้นที่ติดมากับสารความเย็นจะถูกดูดออก ณ. จุดนี้ เป็นผลให้สถานะของสารความเย็นเป็นของเหลว 100 % ด้านล่างของตัวเรือน
ซึ่งตอนนี้ในตัวเรือนของรีซีฟเวอร์ไดเออร์ยังมีความดัน (ที่ส่งมาจากคอนเดนเซอร์) เป็นผลให้สารความเย็นไหลผ่านตะแกรงเข้าไปยังท่อส่งสารความเย็น ผ่านกระจกมองสารควาเย็นไปที่ท่อทางออก เพื่อต่อเข้ากับเอ็กเพ็นชั่นวาล์ว
 
 การไหลของสารความเย็นในรีซีฟเวอร์ไดเออร์
 
 

 

 

 

BY…BIGBLEM