คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (4)
คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์
คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) มีหน้าที่ ดูดและอัดสารความเย็น ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ในสถานะแก๊ส (จากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)) ให้มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (ไปยังคอนเดนเซอร์ ( Condenser ))
คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ชุดคลัทช์แม่เหล็ก จะเป็นตัวควบคุมและต้นกำลังให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ จะเป็นตัวดูดและอัดสารความเย็น โดยได้กำลังมาจากชุดคลัทช์แม่เหล็ก
1.ชุดคลัทช์แม่เหล็ก ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (1)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=112
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
2. คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor)
3. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)
คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (2)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=118
คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor)
คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor) นั้นยังสามาถแบ่งได้อีก 2 ชนิดคือ
1. ชนิดทางเดียว (Alternativo Axial Compressor) ซึ่งจะมีการทำงานเหมือนกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (รับกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยง) แต่คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลตชนิดทางเดียว จะรับกำลังจากชุดของเพลาสวอทเพลตแทน (รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป)
2. ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor) ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ส่วนประกอบและหน้าที่ของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (3)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=125
การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง นั้นจะมีด้วยกันหลายสูบแล้วแต่การออกแบบของแต่ละยี่ห้อ มีทั้ง สิบสูบ สิบสองสูบ เป็นต้น (นับรวมทั้งสองด้าน) ซึ่งการทำงานนั้น (ในแต่ละสูบ) แต่ละด้านจะทำงานตรงกลับข้าม จากรูป ด้านหนึ่งจะดูดสารความเย็น อีกด้านหนึ่งจะอัดสารความเย็น
1= ชาร์ฟเพลต (Shaft Plate)
2 = รีดวาล์วส่ง (Discharge Reed Valve) (ด้านหน้า)
3 = วาล์วเพลต (Valve Plate ) ) (ด้านหน้า)
4 = รีดวาล์วด้านดูด (Suction Reed Valve) ) (ด้านหน้า)
5 = ลูกสูบ (Piston)
6 = รีดวาล์วส่ง (Discharge Reed Valve) (ด้านหลัง)
7 = วาล์วเพลต (Valve Plate ) (ด้านหลัง)
8 = รีดวาล์วด้านดูด (Suction Reed Valve) (ด้านหลัง)
การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง เริ่มจากสารความเย็นจะเข้าทาง
- ท่อทางด้านดูด (Suction )
-ผ่านเรือนสูบออกเป็น 2 ทางคือ ซ้าย (ไปฝาครอบด้านหน้า (Front Housing))และขวา (ไปฝาครอบด้านหลัง (Rear Housing )) โดยอยู่บริเวณรอบนอก
จังหวะดูด ขึ้นอยู่ว่าลูกสูบตัวไหนอยู่ในตำแหน่งเลื่อนลง (ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง)
-ผ่านวาล์วเพลต (Valve Plate )
-ผ่านรีดวาล์วด้านดูด (Suction Reed Valve) ให้สารความเย็นเข้ากระบอกสูบ
จังหวะอัด ชาร์ฟเพลต (Shaft Plate) หมุนทำให้ขึ้นลูกสูบเลื่อนขึ้น (ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง) ตัวที่เลื่อนลงก่อน
-ลูกสูบดันสารความเย็น
-รีดวาล์วด้านดูด (Suction Reed Valve) ปิด
-ผ่านวาล์วเพลต (Valve Plate )
-ผ่านวาล์วเพลต (Valve Plate )
-ผ่านรีดวาล์วด้านส่ง (Discharge Reed Valve) ส่งสารความเย็นโดยมีปะเก็น (Gasket) ด้านหน้า ซึ่งปะเก็นจะมีลักษณะแอ่นตัวขึ้นเพื่อให้รีดวาล์วด้านส่งเปิดได้
-ผ่านฝาครอบด้านหน้า (Front Housing))และด้านหลัง (Rear Housing )) โดยอยู่บริเวณรอบใน
-ผ่านเรือนสูบ
-ผ่านท่อด้านส่ง (Discharge) ส่งสารความเย็นไปยังคอนเดนเซอร์ (คอล์ยร้อน)
ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=hmqY1VaiMS4&feature=related
สำหรับ และคอมเพรสเซอร์แบบอื่นๆ รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป
BY…BIGBEHM
ระบบท่อ Piping System