คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (3)

คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (3)


หมวดหมู่:ระบบปรับอากาศรถยนต์ Car Air Conditioning วันที่:2012-08-09

คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์

               คอมเพรสเซอร์ ( Compressor )  มีหน้าที่ ดูดและอัดสารความเย็น ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ในสถานะแก๊ส (จากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)) ให้มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (ไปยังคอนเดนเซอร์ ( Condenser ))


              คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ชุดคลัทช์แม่เหล็ก   จะเป็นตัวควบคุมและต้นกำลังให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ จะเป็นตัวดูดและอัดสารความเย็น โดยได้กำลังมาจากชุดคลัทช์แม่เหล็ก   
                                                                                                                            
            1.ชุดคลัทช์แม่เหล็ก   ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (1)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=112
            2. ตัวคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นแบ่งได้  3 ชนิดคือ
1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
2. คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor)
3. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)

          คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor) ได้กล่าวไว้ในบทก่อนคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (2)
http://thaimachanic.com/index.php?mod=article&sec=detail&id=118

 


คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash  plate Compressor)
           คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ( Swash plate Compressor) นั้นยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ชนิดคือ


         1. ชนิดทางเดียว (Alternativo Axial Compressor) ซึ่งจะมีการทำงานเหมือนกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (รับกำลังจากเพลาข้อเหวี่ยง) แต่คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลตชนิดทางเดียว จะรับกำลังจากชุดของเพลาสวอทเพลตแทน (รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป)
         2. ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor) ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

                          ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
ส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor) นั้นแสดงดังรูปที่ 10. และรูปที่ 11.

รูปที่ 10. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
(ที่มา http://www.4x4.in.th)

รูปที่ 11. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
(ที่มา http://www.4x4.in.th)

           หน้าที่ของส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
จากรูปที่ 11. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบจะขออธิบายในส่วนประกอบหลักๆเท่านั้น
 

          เรือนสูบ (Cylinder Block) ทำหน้าที่  เป็นที่ติดตั้งของส่วนประกอบต่างๆในตัวคอมเพรสเซอร์ และยังเป็นช่องทางในการรับและส่งสารความเย็น โดยที่เรือนสูบนี้จะรับสารความเย็นเข้าตรงกลางจากนั้นช่องทางแบ่งออกเป็น 2 ทางคือ ซ้าย (ไปฝาครอบด้านหน้า (Front Housing))และขวา (ไปฝาครอบด้านหลัง (Rear Housing )) ในทางกลับกันช่องทางจ่าย (อัด)ก็มี 2 ทาง ที่มาจาฝาครอบด้านหน้าและหลัง
 

         เพลา (Shaft)   ทำหน้าที่  เป็นตัวส่งกำลังให้กับ (รับกำลังมาจากชุดคลัทช์แม่เหล็ก)   ชาร์ฟเพลต (Shaft Plate) ซึ่งก็เป็นชุดเดียวกัน
 

        ฝาครอบด้านหน้า (Front Housing) ทำหน้าที่  เปรียบเหมือนฝาสูบหรือจะเรียว่าฝาสูบเลยก็ไม่ผิด เพียงแต่ในคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทางนี้จะมีอยู่สองด้าน ซึ่งจะมีหน้าที่เหมือนฝาสูบในคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ คือรับและส่งสารความเย็นผ่านชุดรีดวาล์ว (ขึ้นอยู่ว่าอยู่ในจังหวะไหน) และวาล์วเพลต (ถ้าพลิกดูด้านล่าง ฝาสูบ จะถูกแบ่งออกเป็นสองห้องคือห้องด้านดูดและอัด ห้องด้านนอกจะเป็นด้านดูด) โดยฝาครอบนี้จะอยู่ด้านหน้าของตัวคอมเพรสเซอร์ (ด้านชุดคลัทช์แม่เหล็ก)  
 

       ฝาครอบด้านหลัง (Rear Housing ) ทำหน้าที่  เหมือนฝาครอบด้านหน้า (Front Housing) เพียงแต่อยู่ด้านหลังเท่านั้น
 

       ชาร์ฟเพลต (Shaft Plate) ทำหน้าที่  เป็นตัวส่งกำลังให้กับลูกสูบ (บางครั้งเราอาจแผ่นสวอทเพลต (Swash Plate) ซึ่งในความจริงแล้วจะเป็นชุดเดียวกับเพลา (Shaft)  
 

       ลูกสูบ (Piston) ทำหน้าที่ เป็นต้นกำลังในการดูดและอัดสารความเย็น โดยที่ลูกสูบจะมีลักษณะทรงกระบอกที่ตรงกลาง (ตามยาว) จะมีการ เซาะร่องไว้ (สวมอยู่กับชาร์ฟเพลต (Shaft Plate) และตัวลูกสูบจะอยู่ในเรือนสูบ(Cylinder Block))
 

       ปะเก็น (Gasket) ทำหน้าที่ เป็นบังคับไม่ให้รีดวาล์วด้านส่ง (Discharge Reed Valve)เปิดมากเกินไปในการส่งสารความเย็นที่ออกมาจากระบอกสูบ (ซึ่งคล้ายกับวาล์วสต๊อปเปอร์ในคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ)
 

        รีดวาล์วด้านส่ง (Discharge Reed Valve) ทำหน้าที่ ส่งสารความเย็นโดยมีปะเก็น (Gasket) ด้านหน้า ซึ่งปะเก็นจะมีลักษณะแอ่นตัวขึ้นเพื่อให้รีดวาล์วด้านส่งเปิดได้
 

       วาล์วเพลต (Valve Plate ) ทำหน้าที่ รับและส่งสารความเย็นมาจากฝาครอบด้านหน้า (Front Housing) หรือฝาครอบด้านหลัง (Rear Housing ) ผ่านชุดรีดวาล์ว เข้าหรือออกกระบอกสูบ โดยที่วาล์วเพลตนี้จะมีรูทะลุถึงกันซึ่งรูนี้จะถูกปิด-เปิด ด้วยชุดรีดวาล์ว
 

       รีดวาล์วด้านดูด (Suction Reed Valve) ทำหน้าที่ เปิดให้สารความเย็นเข้ากระบอกสูบ
 

รูปที่ 12. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
(ที่มา http://ecomodder.com)
 
สำหรับ การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต ชนิดสองทาง (Double Acting Swash Plate Compressor)
และคอมเพรสเซอร์แบบอื่นๆ รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป
 
 

 

BY…BIGBEHM