คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (1)
คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์
คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) มีหน้าที่ ดูดและอัดสารความเย็น ที่มีความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ ในสถานะแก๊ส (จากอีวาโปเรเตอร์ (Evaporator)) ให้มีความดันสูง อุณหภูมิสูง ในสถานะแก๊ส (ไปยังคอนเดนเซอร์ ( Condenser ))
คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นจะจำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. ชุดคลัทช์แม่เหล็ก จะเป็นตัวควบคุมและต้นกำลังให้ตัวคอมเพรสเซอร์ทำงาน
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ จะเป็นตัวดูดและอัดสารความเย็น โดยได้กำลังมาจากชุดคลัทช์แม่เหล็ก
รูปที่ 1. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (ที่มา http://www.eastern-refrigeration.com)
รูปที่ 2. แสดงส่วนประกอบของคอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์ (ที่มา http://www.pelicanparts.com)
1.ชุดคลัทช์แม่เหล็ก
ชุดคลัทช์แม่เหล็กมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วนคือ
- แผ่นคลัชท์ (Clutch Dise ) จะสวมอยู่ด้านหน้าของพูเล่ย์และชุดขดลวด ซึ่งแผ่นคลัชท์จะ ยึดติดกับเพลาข้อเหวี่ยงของตัวคอมเพรสเซอร์
- พูเล่ย์ (Pulley ) จะอยู่ด้านหน้าของตัวคอมเพรสเซอร์ สวมครอบชุดขดลวดโดยที่มีแผ่นคลัชท์อยู่ด้านหน้า (ในตัวพูเลย์นี้จะมีตลับลูกปืนอยู่) รับแรงจากเครื่องยนต์ด้วยสายพานส่งกำลัง
-ชุดขดลวด (Clutch Coil ) จะอยู่ภายในตัวพูเล่ย์ ซึ่งจะมีสายไฟที่ต่อมาจากสวิทช์แอร์
การทำงานของชุดคลัทช์แม่เหล็ก
-กรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ แผ่นคลัชท์จะไม่ติดกับพูเล่ย์ (พูเล่ย์จะหมุนฟรี)
- กรณีที่มีการเปิดแอร์ กระแสไฟจากสวิทช์แอร์จะถูกส่งมายังชุดขดลวดๆ เกิดสนามแม่เหล็กดูดแผ่นคลัชท์ให้ติดกับพูเล่ย์
เป็นผลให้เพลาข้อเหวี่ยงของตัวคอมเพรสเซอร์หมุน ซึ่งทำให้คอมเพรสเซอร์ ดูดและอัดสารความเย็น
- กรณีที่อุณหภูมิห้องโดยสารคงที่ (เย็น) กระแสไฟจากสวิทช์แอร์จะตัดไม่ให้มายังชุดขดลวดๆ ทำให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน ในทางกลับกันถ้าอุณหภูมิห้องโดยสารสูงขึ้นจะมีการต่อกระแสไฟอีกครั้งและคอมเพรสเซอร์ทำงาน รายละเอียดขอกล่าวในหัวข้อระบบไฟฟ้าควบคุม
2. ตัวคอมเพรสเซอร์ คอมเพรสเซอร์ในระบบปรับอากาศรถยนต์นั้นแบ่งได้ 3 ชนิดคือ
1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
2. คอมเพรสเซอร์แบบสวอทเพลต (Swashplate Compressor)
3. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)
รายละเอียดขอกล่าวในครั้งต่อไป
BY…BIGBEHM
ระบบท่อ Piping System